You are here: Home / Updates / Thailand: Call to boost domestic workers' welfare
Thailand: Call to boost domestic workers' welfare

Thailand: Call to boost domestic workers' welfare

Comments
by IDWFED published Jun 16, 2014 12:00 AM
Activists representing vulnerable low-income workers have urged the Labour Ministry to do more to enforce a ministerial regulation protecting domestic workers. The call was made yesterday at a seminar to mark International Domestic Workers' Day in Bangkok, organised by the Network for Protection of Domestic Workers of Thailand.

Details

THAILAND -

Read the original article in full: Call to boost domestic workers' welfare | Bangkok Post

Excerpt:

Activists representing vulnerable low-income workers have urged the Labour Ministry to do more to enforce a ministerial regulation protecting domestic workers.

The call was made yesterday at a seminar to mark International Domestic Workers' Day in Bangkok, organised by the Network for Protection of Domestic Workers of Thailand.


Photo: มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก มพด.

The event focused on Labour Ministry regulation No.14, which states that household helpers must have a minimum of one day off per week, among other welfare benefits.

The requirement, put in place two years ago, was the first to enshrine the entitlement to a day off for domestic workers in law.

But attendees at the seminar said domestic employees are still missing out on legal protections, and called for the regulation to be enforced across the board for both Thai and foreign workers.

Participants in the forum also demanded government guarantee workers have access to social security benefits and introduce a compulsory minimum daily wage.

International Labour Organisation (ILO) representative Rakawin Leechanawanichpan, said the ILO was responsible for creating an international convention to recognise the value of domestic workers. Regulation No.14 was drafted under that convention.

ครบ 2 ปี กฎกระทรวง ฉ. 14 ‘แจ๋วรับใช้’ ร้องสิทธิประกันสังคม มาตรา 33

เขียนวันที่ วันอาทิตย์ ที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 14:59 น.เขียนโดยisranews

เครือ ข่ายลูกจ้างทำงานบ้านเรียกร้องกรมสวัสดิการฯ บังคับใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 คุ้มครอง ‘แจ๋วรับใช้’ จริงจัง เพิ่มสิทธิประกันสังคม มาตรา 33 ‘ผอ.สำนักคุ้มครองแรงงาน’ เผยล่าช้า เหตุไร้ฐานข้อมูล เตรียมขอความร่วมมือทุกฝ่าย ‘สุนี ไชยรส’ ชงโปรโมทผ่านสื่อเปิดลงทะเบียนจัดเก็บประวัติทั่วประเทศ

วัน ที่ 15 มิถุนายน 2557 เครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย ร่วมกับคณะทำงานเพื่องานที่มีคุณค่าสำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน จัดสัมมนา ‘ก้าวต่อไปในการคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน ทุกชาติ ทุกภาษา ในประเทศไทยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม’ เนื่องในวันลูกจ้างทำงานบ้านสากล 16 มิถุนายน ของทุกปี ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ

โดย เครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านประเทศไทย ได้มีข้อเรียกร้องให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เร่งดำเนินการให้มีการบังคับใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 เพื่อคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้านทุกคนในประเทศไทยอย่างทั่วถึงและมี ประสิทธิภาพ และให้สำนักงานประกันสังคมเร่งดำเนินการให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้าถึงสิทธิ ประกันสังคม มาตรา 33 พร้อมทั้งให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ได้ด้วย

นางระกาวิน ลีชนะวานิชพันธ์ ผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ กล่าว ว่า องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้ผลักดันให้เกิดอนุสัญญา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน ซึ่งเมื่อปี 2555 ประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 เพื่อดำเนินนโยบายดังกล่าวแล้ว

ผู้แทนองค์การแรงงานฯ กล่าว ต่อว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีลูกจ้างทำงานบ้านราว 58 ล้านคน โดยอยู่ในเอเชียถึง 20 ล้านคน แต่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเพียง 10% เท่านั้น ซึ่งฟิลิปปินส์ถือเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในการให้สิทธิคุ้มครองลูกจ้าง ทำงานบ้านมากที่สุดในเอเชีย

“เรา พบกลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านจากหลายประเทศในอาเซียนได้รับสิทธิหยุดงานตามกฎหมาย แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศในโลกถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่” นางระกาวิน กล่าว และว่าดังนั้นจะทำอย่างไรให้เกิดการคุ้มครองขึ้น ถึงแม้จะยากกว่าแรงงานนอกระบบอื่น แต่ก็มิใช่จะเป็นไปไม่ได้เลย

ด้านนายอนุชน วรินทร์เสถียร ผอ.สำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าว ว่า ไทยมีการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด โดยเฉพาะกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 ได้เพิ่มสิทธิคุ้มครองจากเดิมมากขึ้นให้ลูกจ้างทำงานบ้านมีสิทธิหยุดงานได้ แม้จะไม่เท่าเทียมกับลูกจ้างในระบบ เนื่องจากบริบทการทำงานแตกต่างกัน

ส่วน การประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้มาสองปี ผอ.สำนักคุ้มครองแรงงาน ระบุว่า ยังไม่มีลูกจ้างรายใดร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานแรงงาน โดยอาจเกิดจากลูกจ้างไม่ทราบสิทธิของตัวเอง หรือได้รับการดูแลจากนายจ้างดีแล้ว และได้รับผลตอบแทนมากกว่าที่กฎหมายกำหนด

นายอนุชน ยัง กล่าวถึงปัญหาบังคับใช้กฎหมายที่ติดขัดเกิดจากกรมสวัสดิการฯ ไม่มีฐานข้อมูลลูกจ้างทำงานบ้านที่ชัดเจน โดยปัจจุบันมีจำนวนลูกจ้างทำงานบ้านถูกต้องตามกฎหมายราว 3 แสนคน หนึ่งในนั้นเป็นแรงงานข้ามชาติ 4.5 หมื่นคน จึงอยากขอความร่วมมือทุกภาคส่วนสร้างฐานข้อมูลเหล่านี้ขึ้น เพื่อมีทิศทางการคุ้มครองที่ดีต่อไป

ขณะที่นางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) กล่าว ว่า ลูกจ้างทำงานบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย หากกรมสวัสดิการฯ อ้างว่าไม่มีฐานข้อมูลก็สามารถดำเนินการได้ โดยการประกาศขึ้นทะเบียนลูกจ้างทำงานบ้านหรือรวบรวมข้อมูลจากบริษัทนายหน้า แต่ทั้งนี้จะต้องจัดกระบวนการนายหน้าใหม่ก่อน ไม่ให้มีการหักค่าหัวคิว เพราะมิเช่นนั้นก็จะไม่มีใครกล้าร้องเรียนหน่วยงานรัฐได้หากถูกเอารัดเอา เปรียบ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่เชิงนโยบาย

สุดท้ายนายอุกฤษณ์ กาญจนเกตุ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าว ถึงการแก้ไขปัญหาว่าจะต้องมีการลงนามในสัญญาจ้าง แม้ไทยจะสามารถจ้างงานด้วยวาจาได้ก็ตาม แต่ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างทำงานบ้านด้วย นอกจากนั้นควรประชาสัมพันธ์ผ่านองค์กรต่าง ๆ ถึงสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ

“ลูกจ้าง ทำงานบ้านต้องพัฒนาตัวเองให้นายจ้างเห็นความสำคัญ จนรู้สึกว่าวันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก” ผู้แทนสภาองค์การนายจ้างฯ กล่าว และฝากถึงแรงงานข้ามชาติให้พยายามเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย เพื่อป้องกันการถูกกดขี่ด้วย

ทั้ง นี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สาระสำคัญของกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 ให้สิทธิลูกจ้างทำงานบ้านมีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ โดยมีระยะห่างไม่เกิน 6 วัน, มีวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่า 13 วัน/ปี, วันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี สำหรับลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี และวันลาป่วยเท่าที่ป่วยจริง โดยให้ค่าจ้างได้ไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี ส่วนสิทธิอื่นเดิมตามกฎหมายให้ได้รับการคุ้มครองต่อไป .

อ่านประกอบ:งานบ้านควรได้รับการคุ้มครองเช่นงานทั่วไป




Source: Penchan Charoensuthipan/Bangkok Post

Story Type: News

blog comments powered by Disqus